วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตัวเลือกในการ format harddisk

เพื่อนๆหลายคนคงเคยเจอเวลาลง windows  เรื่องการ format harddisk ของ windows ที่มักจะมีให้เลือกระหว่าง NTFS และ NTFS (Quick)  มันจะแตกต่างกันอย่างไร ทั้งๆที่มันก็ format เหมือนกัน แต่ที่แตกต่างกันก็แค่ quick format เร็วกว่ามา  ผมเองก็สงสัยแต่ก็ไม่เคยหาคำตอบ จนมาหาวันนี้แหละครับ microsoft เองก็ได้เขียนไว้ถึงความแตกต่าง  http://support.microsoft.com/kb/302686/en-us   โดยผมจะอธิบายเป็นภาษาไทยได้ว่า

  • การ Quick Format จะเป็นเพียงการลบไฟล์บน harddisk เพียงอย่างเดียว ไม่ได้มีการ check bad sector  เราจึงไม่รู้ว่า harddisk เสียอย่างไร
  • แต่หากเรา format แบบธรรมดา จะมีการ check bad sector เหมือนคำสั่ง  chkdsk /r ตอนที่ลง windows แล้ว จึงทำให้ format ธรรมดากินเวลามากกว่า
อืม.. เป็นความรู้ที่ดีไม่น้อย ผมเองก็สรุปได้ว่า harddisk เก่าๆที่เอามาลง windows ใหม่ format ช้าบ้างก็ดี จะได้ check bad sector  หากมี bad sector แล้วก็จะได้ไม่เก็บข้อมูลสำคัญเข้าไป  หรือเอาไปเคลม (เขาให้เคลมรึเปล่า ???)

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บันทึกเรื่องดีดี : ใช้เวลาว่างให้มีความสุข

ช่วงนี้อ่านบทความต่างๆอยู่มาก เจอบทความดีดีก็อยากเก็บไว้ เผื่อคนอื่นอ่านครับ   ขอบคุณที่มา  http://chickynina29.exteen.com/20110517/comic


วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประสบการณ์การเพิ่ม RAM Netbook Lenovo U160

ประสบการณ์วันก่อนมีโอกาส  แกะ netbook ของ lenovo เพื่อเพิ่ม ram อืม รู้สึกว่ามันยาก แต่ก็ลองแกะมันดูครับ  จริงๆแล้วก็ไม่มีอะไรยากหรอก แต่ต้องลองอ่านคู่มือดีๆ นะครับ มันจะบอกเรา ไว้ค่อนข้างละเอียด อืม ลองนึกๆดูถ้าเอาไปให้ที่ร้านแกะก็คงแพงน่าดูแถมยังไม่ประกันคุณภาพสู้เราทำเองดีกว่าไหม  การลองแกะเนี่ยก็เป็นประสบการณ์ให้เราได้มากเหมือนกันครับ แต่ต้องพอมีความรู้อยู่บ้างนะครับ ไม่งั้นอาจเสีย netbook หรือ notebook ของคุณไปเลยก็ได้(เสียวๆอยู่เหมือนกัน)

แกะรุ่นนี้เลยครับ

ภาพประกอบระหว่างชำแหละ
แกะ Keyboard ออกมาก่อน (อ่านจากคู่มือครับ)
เอาออกมาได้
 แกะฝาหลัง netbook (แกะยากครับ ต้องระวัง)
 แกะแล้วก็มาดู มี ram hreatsink และ card wireless
 ตรงนี้มี Harddisk
 ดู RAM และ heatsink กันชัดๆ
ดูรวมๆ
ประกอบกลับก็ยังเปิดติด เย้เย้ ทำได้แล้ว

ท้ายสุดการ เพิ่ม RAM ครั้งนี้สอนให้รู้ว่า "ลองทำดู แล้วพยายามให้ดีที่สุด + ระมัดระวัง ผลที่ได้ก็จะดีครับ"

พัฒนาการของการ Clone Harddisk ตอนที่ 2

จากตอนที่แล้วที่ได้ใช้การ Clone ผ่าน Network ผ่าน usb ซึ่งก็ถือว่าสบายมากแล้วในช่วงนั้น  แต่ก็ยังมีเทคโนโลยีที่เรียกได้ว่าสบายกว่าอีก ซึ่งเมื่อโรงเรียนได้ซื้อคอมพิวเตอร์ชุดใหม่ ประมาณปี 2549  เป็นเทคโนโลยีการ Clone Harddisk ที่พัฒนาโดย Intel นั่นก็คือ IPAT (Intel Platform Administration Technology)  ซึ่งสามารถ Clone Harddisk ผ่าน Network ได้โดยไม่ต้องใช้ USB แค่ boot แล้วก็ F4 ก็จะทำการ boot ผ่าน network อัตโนมัติ  แต่จะต้องปิด Qos บน switch ก่อนถึงจะใช้งานได้  และมีอยู่บนเมนบอร์ดของ intel บางรุ่นเท่านั้น ซึ่ง IPAT สร้างความสะดวกกับผมมากๆ  เพราะนอกจากจะ Clone ได้อย่างรวดเร็ว แล้วยังสามารถสั่งเปลี่ยน computer name และ นำคอมพิวเตอร์ขึ้น domain (Active Directory)  ได้โดยคุมผ่าน Server อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน Intel เลิกพัฒนา IPAT แล้ว เพราะ intel ว่าไม่ดี แล้วหันมาพัฒนา diskless แทน และ IPAT ก็มีข้อเสียบางประการดังนี้
  • ช่วงที่ IPAT กำลังพัฒนา ทำให้ IPAT ฝังอยู่บน Harddisk และ bios ซึ่งก็หมายความว่า จะต้องใช้ harddisk กับเครื่องเดิมเสมอ harddisk จะพังไม่ได้
  • IPAT จะไม่สามารถใช้ได้หากไม่มี serial ที่ gen จาก intel และ intel ก็หยุดพัฒนา IPAT ไปแล้วดังนั้น ไม่มีทาง gen serial ได้แล้ว  ก็ทำให้ใช้กับเครื่องใหม่ไม่ได้
  • IPAT clone ได้ช้า หากเทียบกับ ghost แต่ก็ถือว่าดีเพราะไม่เหนื่อย
  • IPAT อยู่ใน mainboard บางรุ่นเท่านั้น

วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การใช้งาน Clonezilla

จากการที่มีปัญหาด้านการ Clone Harddisk มากมาย ผมจึงได้ศึกษา ค้นคว้าหาวิธีการ Clone Harddisk ใหม่ๆ  จนกระทั่งผมไปพบกับ Clonezilla ครั้งแรกที่  www.hadyaiinternet.com/datasheet/CloneZilla.pdf  และ link ต่างๆ อีก ใน Website  www.hadyaiinternet.com แต่ผมอ่านแล้ว ผมไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไร  ผมจึงพยายามหาต่อไป แบบที่เป็นภาษาอังกฤษ เพราะผมคิดว่าผมน่าจะเข้าใจมันมากกว่า  แล้วผมก็ค้นหา Clonezilla ต่อไป ด้วย keyword "ubuntu 10.04+clonezilla" ซึ่งตอนนั้นผมขังใช้ ubuntu 10.04 อยู่  website ที่ทำให้ผมเข้าใจและได้ลองทำ อย่างสำเร็จก็คือ  http://geekyprojects.com/cloning/setup-a-clonezilla-server-on-ubuntu/  มันมีประโยชน์ต่อผมมาก อ่านแล้วก็เข้าใจ อยากจะขอบคุณทั้ง HadyaiInternet และ Geekyproject มากๆ (เคยเจออีกใน www.ubuntu.com ซึ่งให้ข้อมูลดีแต่ก็ทำไม่ได้ หรือผมทำไม่เป็น - -" https://help.ubuntu.com/community/Clonezilla_Server_Edition)  ผมว่าวิธีใน geekyprojects.com ดีที่สุด(ความเห็นส่วนตัวนะครับ ^^) 

ก่อนอื่นก็ควรอธิบายก่อนว่า Clonezilla มันคืออะไร  ที่จริงแล้ว Clonezilla  นั้นก็คือโปรแกรมช่วย clone harddisk คล้ายๆ ghost นั่นแหละ สามารถ clone harddisk to harddisk ได้ (ผมไม่เคยใช้) แต่ที่ผมใช้งาน ก็คือการ clone harddisk ผ่าน lan โดยใช้ pxeboot  (หรือ boot จาก network ไม่ต้องใช้ usb ขอแค่ network card boot ผ่าน lan ได้) การ boot pxe ผ่าน lan นั้นทำให้การ clone สะดวกขึ้นมาก แค่สั่ง bios ให้ boot จาก network ทุกเครื่องก็สามารถ clone ได้แล้ว  ความเร็วในการ clone นั้นก็ถือได้ว่าเร็ว ประมาณ 600-1500 MB/min  (Megabytes ต่อ นาที  ผ่าน 10/100 switch นะครับ)  แต่หาก
จะได้ความเร็วนี้ ต้องปัจจัยหลายๆอย่างประกอบ เท่าที่ผมเจอมาดังนี้

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การเลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ตอนที่ 2

ต่อจากตอนที่แล้วที่เราพูดถึงการเลือก Power Supply มาแล้ว  ผมก็มีคำแนะนำจุกจิกอื่นๆ อีกด้วยครับ
พวกไดรว์ CD Rom หรือ DVD เนี่ยหากเลือกใช้พวกที่เป็น portable ได้จะดีมากเลย หรือ ไม่ก็ซื้อแบบ internal มาแล้ว หา box มาใส่ ใช้เวลาใช้งานจริงๆ เนื่องจาก Optical Drive พวกนี้จะเสียได้ง่ายหากไม่ใช้งานเป็นเวลานาน 2-3 ปีก็พังแล้วครับ แต่หากเรา เปิดเมื่อใช้ เก็บเมื่อไม่ได้ใช้  (ส่วนใหญ่ก็ใช้กันจริง ตอนลงโปรแกรม) แล้วเก็บมันในที่ไม่ชื้น  จะช่วยถนอมอายุมัน มากกว่า 5 ปีทีเดียวครับ เพราะที่โรงเรียนผมใช้อยู่ ใช้มาประมาณ 5 ปีแล้วก็ยังไม่มีปัญหาอะไร  แค่ขึ้นสนิมเพราะ ไม่ได้ใส่ box ไว้ แล้วอากาศมันชื้นครับ  ของพวกนี้ถ้าถนอมหน่อย อายุการใช้งานก็นานทีเดียวครับ
ข้อยิบย่อยที่เขียนไปก็เยอะเหมือนกันนะครับ แต่ก็ยังมีอยู่อีกบ้าง

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตาราง CPU รุ่นใหม่ของ Intel ครับ

ตารางนี้เป็น Brochure ของ Intel ที่ให้ข้อมูล CPU Core i3  Core i5 Core i7  Generation 2 พอดีเห็นว่า มีเครื่อง Scan ก็เลย Scan มาฝากกันครับ เป็นรูปแบบ PDF นะครับ  เอาไปดูกันนะครับ  มีทั้ง CPU ของ Notebook , Laptop และ Mainboard ของ intel ครับ

https://docs.google.com/viewer?a=v&pid=explorer&chrome=true&srcid=0BxOGAk1XeMGdYmMxNzkyMmUtMjk1ZS00NmRiLTg1ZTQtOGE4NmU3OTRlNjE2&hl=en

วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ตอนที่ 1

เลือกอุปกรณ์ต่าง มาประกอบคอมพิวเตอร์นี้ เป็นอะไรที่สำคัญมาก เนื่องจาก อุปกรณ์แต่ละชิ้น แต่ละแบรนด์ ก็มี ความคงทนแข็งแรงต่างกันไป  รวมถึงความละเอียดในการผลิตด้วย  ก่อนประกอบคอมซักเครื่องเราก็ต้องมานั่งคิดว่า เราต้องซื้ออะไรบ้าง ของหลักๆ จำเป็นๆ  ก็มีดังนี้
  • เมนบอร์ด Mainboard or Motherboard แล้วแต่จะเรียก
  • ซีพียู หรือหน่วยประมวลผล CPU
  • แรม หรือ ...  RAM
  • ฮาร์ดดิกส์  Harddisk
  • ไดรว์ DVD (Optical Disk  Drive)
  • Power Supply หรือ ตัวจ่ายไฟ
  • เคส Case
  • หน้าจอ Monitor
  • คีบอร์ด และ เมาส์  Keyboard , Mouse
  • ลำโพง (ผมไม่ค่อยใช้)

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พัฒนาการของการ Clone Harddisk ตอนที่ 1

ผู้ที่ทำงานในองค์กร ร้านคอมพิวเตอร์  ร้านเกมส์ ที่มีคอมพิวเตอร์จำนวนมาก (มากกว่า 5 เครื่องเนี่ยก็มากแล้วนะครับ)  ก็คงมีวิธีการหลากหลายในการดูแลระบบ  แต่สิ่งที่สำคัญในระบบก็คือ OS ซึ่งเป็นเครื่องมีือในการทำงานที่สำคัญ หากมีคอมพิวเตอร์มากๆ จะให้ลง OS ทีละเครื่องก็คงไม่ไหวอย่างเช่นที่ ที่ผมทำงานอยู่ก็คือ โรงเรียนของผม มีคอมพิวเตอร์ประมาณ   300  เครื่องครับ  มี spec แตกต่างกันหลายชุด  (ประมาณ 6 ชุด) ทุกๆปีจะมีการล้างระบบลง windows ใหม่ ซึ่งคอมพิวเตอร์ขนาดนี้ก็ถือเป็นงานที่เยอะมาก วิธีการที่รวดเร็วที่สุดในการล้างเครื่องลงใหม่นั่นก็คือ การ Clone Harddisk นั่นเองครับ  กระผมเริ่ม Clone Harddisk จาก Harddisk to Harddisk ,  Clone ผ่าน Network ใช้ USB , Clone ผ่าน Network โดยใช้ pxe boot ผ่าน lan  และได้ใช้โปรแกรมในการ clone บางโปรแกรม เช่น ghost ,  clonezilla  ซึ่งกระผมจะนำ ประสบการณ์เหล่านี้มาแบ่งปันแก่ทุกท่าน

หน้าตาแบบนี้ผู้ clone harddisk คงจะคุ้นกันนะครับ  
(ที่มา http://superuser.com/questions/97234/norton-ghost-usage-linux-iso-server-mbr)

วิธีการ Clone Harddisk to harddisk มีหลักการง่ายๆ ดังนี้