วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พัฒนาการของการ Clone Harddisk ตอนที่ 2

จากตอนที่แล้วที่ได้ใช้การ Clone ผ่าน Network ผ่าน usb ซึ่งก็ถือว่าสบายมากแล้วในช่วงนั้น  แต่ก็ยังมีเทคโนโลยีที่เรียกได้ว่าสบายกว่าอีก ซึ่งเมื่อโรงเรียนได้ซื้อคอมพิวเตอร์ชุดใหม่ ประมาณปี 2549  เป็นเทคโนโลยีการ Clone Harddisk ที่พัฒนาโดย Intel นั่นก็คือ IPAT (Intel Platform Administration Technology)  ซึ่งสามารถ Clone Harddisk ผ่าน Network ได้โดยไม่ต้องใช้ USB แค่ boot แล้วก็ F4 ก็จะทำการ boot ผ่าน network อัตโนมัติ  แต่จะต้องปิด Qos บน switch ก่อนถึงจะใช้งานได้  และมีอยู่บนเมนบอร์ดของ intel บางรุ่นเท่านั้น ซึ่ง IPAT สร้างความสะดวกกับผมมากๆ  เพราะนอกจากจะ Clone ได้อย่างรวดเร็ว แล้วยังสามารถสั่งเปลี่ยน computer name และ นำคอมพิวเตอร์ขึ้น domain (Active Directory)  ได้โดยคุมผ่าน Server อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน Intel เลิกพัฒนา IPAT แล้ว เพราะ intel ว่าไม่ดี แล้วหันมาพัฒนา diskless แทน และ IPAT ก็มีข้อเสียบางประการดังนี้
  • ช่วงที่ IPAT กำลังพัฒนา ทำให้ IPAT ฝังอยู่บน Harddisk และ bios ซึ่งก็หมายความว่า จะต้องใช้ harddisk กับเครื่องเดิมเสมอ harddisk จะพังไม่ได้
  • IPAT จะไม่สามารถใช้ได้หากไม่มี serial ที่ gen จาก intel และ intel ก็หยุดพัฒนา IPAT ไปแล้วดังนั้น ไม่มีทาง gen serial ได้แล้ว  ก็ทำให้ใช้กับเครื่องใหม่ไม่ได้
  • IPAT clone ได้ช้า หากเทียบกับ ghost แต่ก็ถือว่าดีเพราะไม่เหนื่อย
  • IPAT อยู่ใน mainboard บางรุ่นเท่านั้น


ถึง IPAT จะมีข้อเสียอยู่บ้าง แต่ก็มีข้อดีเช่นกัน หาก intel ไม่หยุดพัฒนา IPAT ไปก่อน IPAT ก็คงได้รับความนิยมอย่างมาก (เหมือนว่า IPAT จะพัฒนาให้คนแถบเอเชียใช้ก่อน เริ่มจาก จีน ไทย ...)  เนื่องจาก intel  หยุด พัฒนา IPAT ดังนั้น ผมก็ต้องหาวิธีการใหม่ๆและง่ายๆ สำหรับการ clone Harddisk 60 เครื่องผ่าน network


ตัวช่วยในการ clone ต่อไปเป็นตัวที่เพิ่งพบได้ไม่นาน คนจีนเป็นคนรวบรวม package ไว้ ชื่อโปรแกรมตรงๆมากครับ โกสเซฟเวอร์ผ่านแลน  นำไปใช้ที่เครื่องไหนก็ได้ ไม่ต้องมี server จริงๆโปรแกรมนี้ใช้ง่ายกว่าทุกตัวที่ผ่านมามากเลยครับ  ผมดีใจมากที่เจอ เพียงแค่ set ให้เครื่อง boot ผ่าน network ก็สามารถ clone คอมพิวเตอร์ผ่าน network ได้ไม่จำเป็นต้องหา driver card lan เสียด้วยซ้ำ  แต่ !!!!!!! T-T  โปรแกรมนี้ใช้กับ Harddisk SATA ไม่ได้ครับ  ถ้าพูดถึงหลักการของมัน จะเป็นการประยุกต์เรื่อง 3ComBootService กับ Symantec Ghost Suite แต่เพียงแค่ใช้โปรแกรมอื่นแทนครับ


เรื่อง 3ComBootService และ SymantecGhost Suit ก็เป็นอะไรที่น่าสนใจเพียงแต่มันเป็นของเก่าประมาณ 10 ปีแล้วครับ ผมลองทำก็ใช้กับ Harddisk SATA ไม่ได้ครับ ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมหรือผมทำอะไรผิด


หลังจากนี้ผมก็เลิกยุ่งเรื่อง clone ไปสักพักหนึ่ง แต่ก็ค้นหาไปเรื่อยๆ จนเจอ software ที่ช่วยในการ clone และ run บน linux นั่นก็คือ clonezilla นั่นเองครับ clonezilla นี่ช่วยทุ่นแรงได้เยอะมากครับ  ลองอ่านดูจากอีกบทความนะครับ  "การใช้งาน Clonezilla"

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ1 มกราคม 2556 เวลา 01:16

    IPAT ไม่ได้แค่โคลนอย่างเดียว ยังสามารถอัพเดทเป็นแพกเกจไฟล์เล็กๆ ได้ เช่น ติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม 1 โปรแกรม IPAT ก็จะโคลนเฉพาะส่วนที่เพิ่มหรือเอาออกไปเท่านั้น ไม่ได้โคลนฮาร์ดดิสก์ทั้งลูก เหมือนระบบอื่น

    ตอบลบ